กรณีศึกษา ของ เอียน สตีเวนสัน

อย่างคร่าว ๆ

มรดกที่ว่านี้ทำให้สตีเวนสันสามารถเดินทางไปในที่ต่าง ๆ ได้ บางครั้งถึง 55,000 ไมล์ (88,510 ก.ม.) ต่อปี เก็บข้อมูลกรณีศึกษาถึง 3,000 รายเป็นการสัมภาษณ์กับเด็ก ๆ ตั้งต้นแต่แอฟริกาไปตลอดถึงรัฐอะแลสกา[1]ตามนักข่าวของเดอะวอชิงตันโพสต์ ทอม ชโรเดอร์ "เมื่อสัมภาษณ์พยานและทบทวนดูเอกสาร ดร. สตีเวนสันได้พยายามหาคำอธิบายคำให้การแบบอื่น ๆ เช่นว่าเด็กได้ข้อมูลโดยวิธีปกติบางอย่าง ว่าพยานฉ้อฉลหรือหลงผิด ว่าความสัมพันธ์เกิดโดยบังเอิญหรือเข้าใจผิดแต่ในกรณีจำนวนมาก ดร. สตีเวนสันก็ได้สรุปว่า คำอธิบายธรรมดาไม่พอ"[23]

ในบางกรณี เด็กอาจมีตำหนิวผิวหรือความพิการที่เข้ากับลักษณะบางประการทางกายของบุคคลในชาติก่อนที่เด็กดูเหมือนจะจำได้ในหนังสือ การกลับชาติมาเกิดกับชีววิทยา - ผลงานในเรื่องสมุฏฐานของตำหนิผิวและความพิการแต่กำเนิด (1997) สตีเวนสันตรวจสอบตำหนิวผิวหรือความพิการของเด็ก 200 รายที่เด็กอ้างว่าจำชาติก่อนได้รวมทั้งเด็ก ๆ ที่มีนิ้วผิดปกติหรือไม่มี ผู้กล่าวว่าจำชีวิตของคนที่เสียนิ้วไปได้เด็กชายคนหนึ่งที่มีตำหนิผิวคล้ายกับแผลทางเข้าและทางออกของผู้ที่เด็กกล่าวว่า จำชีวิตของบุคคลที่ถูกยิงได้และเด็กคนหนึ่งที่มีแผลเป็นรอบ ๆ ศีรษะกว้าง 3 ซม.ผู้กล่าวว่า เธอจำชีวิตของชายที่ได้ผ่าตัดที่กะโหลกศีรษะได้ ในกรณีหลายรายตามความเห็นของสตีเวนสัน การให้การของพยานหรือรายงานการชันสูตรพลิกศพดูเหมือนจะสนับสนุนว่าบุคคลที่ตายไปแล้วจริง ๆ มีการบาดเจ็บดังว่า[20]เช่น ในกรณีของเด็กชายที่จำชีวิตของคนที่ถูกยิงได้ พี่น้องหญิงของคนตายบอกสตีเวนสันว่า พี่น้องชายของเธอยิงตัวเองที่คอและเด็กได้โชว์สตีเวนสันตำหนิวผิวที่คอสตีเวนสันแนะว่า เขาอาจมีตำหนิวผิวที่ยอดศีรษะเช่นกันโดยเป็นสัญลักษณ์ของแผลทางออก แล้วก็พบตำหนิผิวใต้ผมของเด็กจริง ๆ[24]

การตอบสนอง

ข้อวิจารณ์

วารสารแพทย์ JAMA เรียกบทความกรณีศึกษาประเภทกลับชาติมาเกิด (1975) ของสตีเวนสันว่าเป็นการรวบรวมกรณีศึกษาที่ "อุตสาหะและไม่ได้ใส่อารมณ์"[upper-alpha 4]ที่ "ยากจะอธิบายด้วยข้อสมมุติอื่น ๆ นอกเหนือจากการกลับชาติมาเกิด"[25]วารสารโรคประสาทและจิต (Journal of Nervous and Mental Disease) อุทิศวารสารฉบับเดือนกันยายน 1977 โดยมากให้แก่งานวิจัยของสตีเวนสัน[26]ในวารสารฉบับนั้น จิตแพทย์ชาวอเมริกันแฮโรลด์ ลีฟ เรียกสตีเวนสันว่าเป็นผู้ตรวจสอบที่มีระเบียบและรอบคอบแล้วเพิ่มว่า "เขาไม่ก็กำลังทำความผิดพลาดอย่างมโหฬาร หรือไม่เขาก็จะเป็นที่รู้จัก (โดยผมก็กล่าวกับเขาเองเช่นกัน) ว่าเป็น 'กาลิเลโอของคริสต์ศตวรรษที่ 20'"[27]วารสารฉบับนี้ปรากฏว่าเป็นที่นิยม บรรณาธิการของวารสารได้กล่าวว่า เขาได้รับคำขอให้พิมพ์ซ้ำถึง 300-400 ครั้ง[25]

แม้จะได้ความสนใจเช่นนี้ในเบื้องต้น นักวิทยาศาสตร์โดยมากก็ไม่สนใจงานของเขาตามบทความประกาศมรณกรรมของเขาในหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ ผู้กล่าวร้ายเขามองเขาว่า "จริงใจ ดื้อรั้น แต่โดยหลักแล้วก็ถูกชักนำไปในทางที่ผิด หลงผิดไปเพราะถูกหลอกได้ง่าย เพราะการคิดตามความปรารถนา และเพราะความโน้มเอียงในการมองเห็นว่าเป็นวิทยาศาสตร์ในขณะที่คนอื่นมองเป็นไสยศาสตร์"[9]นักวิจารณ์เสนอว่า เด็กหรือพ่อแม่ของเด็กได้หลอกเขา ว่าเขาพร้อมเกินไปที่จะเชื่อ และว่าเขาถามด้วยคำถามชักนำอนึ่ง นักวิจารณ์กล่าวว่า ผลที่ได้มีความเอนเอียงเพื่อยืนยัน เพราะกรณีที่ไม่สนับสนุนไม่ได้นับว่า เป็นหลักฐานค้าน[10]นักปรัชญาในเรื่องศาสนาผู้หนึ่ง (Leonard Angel) ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ว่า สตีเวนสันไม่ได้ทำตามมาตรฐานที่เหมาะสม"แต่คุณจะต้องตรวจดูอย่างระมัดระวังเพื่อให้เห็นซึ่งเป็นเหตุผลที่เขาโน้มน้าวบุคคลเป็นจำนวนมากได้"[9]

นักวิมตินิยมได้เขียนว่า หลักฐานของสตีเวนสันเป็นหลักฐานโดยเรื่องเล่า และถ้าใช้หลักมีดโกนอ็อกคัม ก็จะมีข้ออธิบายธรรมดา ๆ สำหรับกรณีเหล่านี้โดยไม่ต้องอ้างเรื่องเหนือธรรมชาติ[28]นักเขียนวิทยาศาสตร์ผู้หนึ่ง (Terence Hines) ได้เขียนว่า

ปัญหาหลักในงานของสตีเวนสัน คือ วิธีที่เขาใช้ตรวจสอบกรณีที่ระบุว่ากลับชาติมาเกิดไม่พอกันเหตุผลธรรมดา ๆ ออกว่า เป็นการเล่านิทานอย่างมีจินตนาการในส่วนของเด็ก ๆ ผู้อ้างว่าเป็นคนตายผู้กลับชาติมาเกิด ในกรณีที่ดูเหมือนจะน่าทึ่งที่สุดซึ่งสตีเวนสัน (1975, 1977) ได้รายงาน เด็กผู้บอกว่ากลับชาติมาเกิดรู้จักเพื่อนและญาติของคนตาย แต่ความรู้ของเด็กเกี่ยวกับบุคคลเหล่านี้ก็ไม่ใช่หลักฐานที่สรุปได้ว่าเด็กกลับชาติมาเกิด[29]

ศาสตราจารย์ทางจิตวิทยาผู้หนึ่ง (Robert A. Baker) เขียนว่า ประสบการณ์ที่ระบุว่าเป็นของชาติก่อนหลายกรณีที่สตีเวนสันและนักปรจิตวิทยาอื่น ๆ ได้ตรวจสอบสามารถอธิบายเป็นปัจจัยทางจิตวิทยาได้คือ เขายกว่า การระลึกถึงอดีตชาติเป็นความผสมผสานกันระหว่าง cryptomnesia[upper-alpha 5]กับการกุเหตุความจำเสื่อม (confabulation)[31]

นักเขียนชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่ง (Ian Wilson) ได้กล่าวว่า กรณีศึกษาจำนวนมากของสตีเวนสันเกี่ยวกับเด็กยากจนที่ระลึกถึงชีวิตที่ร่ำรวยหรืออยู่ในชั้นวรรณะที่สูงกว่า เขาคาดว่า กรณีเช่นนี้อาจเป็นกลเม็ดหาเงินจากครอบครัวของคนตายที่เด็กระบุว่ากลับชาติมาเกิด[32]

นักปรัชญาซี.ที.เค. ชารีแห่งมหาวิทยาลัยมัทราสคริสเตียนคอลเลจแห่งเมืองเจนไน ประเทศอินเดีย ผู้เชี่ยวชาญทางปรจิตวิทยา ได้เขียนว่า สตีเวนสันซื่อเกินไป และกรณีศึกษาของเขามีปัญหาเพราะเขาไร้ความรู้ทางพื้นเมืองชารีเขียนว่า กรณีงานศึกษาของเขาหลายรายมาจากสังคมต่าง ๆ เช่นอินเดีย ที่คนเชื่อเรื่องการกลับชาติมาเกิด และเรื่องเหล่านี้จึงเป็นเพียงสิ่งที่เกิดเนื่องกับวัฒนธรรม (cultural artifact)เขาระบุว่า สำหรับเด็ก ๆ ในประเทศเอเชียหลายประเทศ การระลึกถึงชาติก่อน ๆ เท่ากับการมีเพื่อนจินตนาการ (imaginary friend)[upper-alpha 6][34]นักปรัชญาอีกท่าน (Keith Augustine[upper-alpha 7]) ก็ให้เหตุผลเช่นกัน[36]สตีเวนสันโต้ว่า เป็นสังคมเหล่านั้นเท่านั้นที่ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับชาติที่แล้วของเด็ก ซึ่งถ้าเป็นคนยุโรปหรือสหรัฐ ผู้ใหญ่ปกติก็จะไม่สนใจและไม่ตรวจสอบโดยประการทั้งปวง[37]เพื่อแก้ปัญหาทางวัฒนธรรมเช่นนี้ เขาได้เขียนบทความกรณีศึกษายุโรปประเภทกลับชาติมาเกิด (2003) ที่เขาตรวจสอบ 40 กรณีในยุโรป[38]

นักปรัชญาพอล เอ็ดวาร์ดส ซึ่งเป็นหัวหน้าบรรณาธิการของสารานุกรมปรัชญา (Encyclopedia of Philosophy) ของสำนักพิมพ์แม็กมิลแลน ได้กลายมาเป็นผู้วิจารณ์สตีเวสันคนหลัก[39]เริ่มตั้งแต่ปี 1986 เขาได้อุทิศบทความหลายบทแก่งานของสตีเวนสัน แล้วได้กล่าวถึงสตีเวนสันในหนังสือปี 1996 คือ Reincarnation: A Critical Examination (การกลับชาติมาเกิด - การตรวจสอบเชิงวิเคราะห์)[40]เขาระบุว่า มุมมองของสตีเวนสันเป็น "เรื่องไร้สาระน่าหัวเราะ" และเมื่อตรวจสอบอย่างละเอียด กรณีศึกษาของเขาก็จะมีข้อบกพร่องใหญ่ และ "ไม่เริ่มแม้แต่เพิ่มน้ำหนักถ่วงอย่างสำคัญเพื่อรับกับข้อสันนิษฐานเบื้องต้นซึ่งต่อต้านการกลับชาติมาเกิด"[41]เขาเขียนว่า สตีเวนสัน "ชัดเจนว่าอยู่ในโลกของความเพ้อฝัน" (cloud-cuckoo-land)[42]

แชมป์ แรนซัมซึ่งสตีเวนสันได้จ้างเป็นผู้ช่วยในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 ได้เขียนรายงานที่ไม่ได้พิมพ์เกี่ยวกับงานของสตีเวนสัน ซึ่งเอ็ดวาร์ดสได้อ้างในหนังสือ Immortality (1992) และ Reincarnation (1996)เอ็ดวาร์ดสเขียนว่า ตามแรนซัม สตีเวนสันถามเด็กด้วยคำถามนำ เติมเรื่องเล่าให้เต็ม ไม่สัมภาษณ์โดยใช้เวลาพอ และทิ้งระยะมากเกินไประหว่างจุดที่เด็กอ้างว่าจำชาติก่อนได้กับการสัมภาษณ์เพราะมักเป็นปี ๆ หลังจากอ้างว่าระลึกชาติได้ที่สตีเวนสันจะได้ยินเรื่องในกรณี 1,111 รายที่แรนซัมได้ตรวจดู มีเพียง 11 กรณีเท่านั้นที่ครอบครัวคนตายไม่ได้ติดต่อกับเด็กก่อนจะสัมภาษณ์ตามแรนซัม กรณี 7 รายจาก 11 กรณีที่ว่ามีข้อบกพร่องอย่างยิ่งเขายังเขียนด้วยว่า การแสดงกรณีของสตีเวนสันมีปัญหา เพราะเขารายงานข้อสรุปของพยาน แทนที่จะรายงานข้อมูลที่เป็นมูลฐานของข้อสรุปปัญหาเกี่ยวกับกรณีจะรายงานในอีกส่วนหนึ่งของหนังสือ แทนที่จะกล่าวเลยเมื่อพูดถึงกรณีเหล่านั้นแรนซัมได้สรุปว่า ทั้งหมดนี่เป็นเพียงหลักฐานโดยเรื่องเล่าแบบอ่อนสุด ๆ[43]

ในหนังสือ Death and Personal Survival (1992) อัลมีเดอร์ระบุว่า แรนซัมผิดพลาดเมื่อกล่าวว่ามีกรณีเพียง 11 รายที่ไร้การติดต่อกันระหว่างครอบครัวเช่นที่ว่าเพราะมี 23 ราย[44]

เอ็ดวาร์ดสอ้างกรณีของเด็กชายคอร์ลิสส์ ช็อตกิน จูเนียร์ ในเมืองแองกูน รัฐอะแลสกา ที่สตีเวนสันบันทึกไว้ในหนังสือกรณีศึกษา 20 รายที่แสดงนัยว่ากลับชาติมาเกิด (1966) ว่าเป็นตัวอย่างที่อาศัยคำพูดของหลานสาวของวิกเตอร์ วินเซนต์ผู้เป็นชาวประมงเป็นหลักฐานเพียงอย่างเดียว[45]โดนช็อตกินดูเหมือนจะจำชีวิตของวินเซนต์ได้เอ็ดวาร์ดสเขียนว่า ปัญหาต่าง ๆ ในกรณีนี้รวมทั้งครอบครัวมีความเชื่อทางศาสนาว่ามีการกลับชาติมาเกิด ช็อตกินมีตำหนิผิวที่กล่าวว่าคล้ายกับแผลเป็นของวินเซนต์ แต่สตีเวนสันไม่เคยเห็นแผลเป็นนี้เอง และรายละเอียดสำคัญทั้งหมดได้มาจากหลานสาวเอ็ดวาร์ดสกล่าวว่า สตีเวนสันไม่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเธอ ยกเว้นว่ามีคนบอกเขาว่า เธอมักจะต่อหรือสร้างเรื่องเอ็ดวาร์ดสกล่าวว่า ปัญหาคล้าย ๆ กันสามารถพบได้ในกรณีศึกษาของสตีเวนสันทั้งหมด[46]เมื่อกล่าวแก้ให้สตีเวนสัน อัลมีเดอร์เขียนในปี 1997 ว่า กรณีช็อตกินเป็นรายที่มีหลักฐานอ่อนกว่า[47]

เอ็ดวาร์ดสกล่าวหาว่า สตีเวนสันเรียกตนเองว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์แต่ไม่ประพฤติเยี่ยงนักวิทยาศาสตร์ตามเอ็ดวาร์ดส เขาไม่ตอบสนองต่อหรือแม้แต่กล่าวถึงข้อโต้แย้งที่สำคัญบรรณานุกรมขนาดใหญ่ในหนังสือ Children Who Remember Previous Lives (1987) ของสตีเวนสันไม่ได้อ้างอิงแม้แต่เอกสารฉบับเดียวหรือหนังสือเล่มเดียวของผู้มีความเห็นตรงกันข้าม[48]

สตีเวนสันเขียนคำนำของหนังสือ Second Time Round (1975) ที่ชาวอังกฤษคนหนึ่งคือเอ็ดวาร์ด ไรออลได้พูดถึงสิ่งที่เขาเชื่อว่าจำได้จากอดีตชาติที่เคยเกิดเป็นจอห์น เฟล็ตเชอร์ ผู้เกิดในเมืองทอนทันปี 1645 ประเทศอังกฤษ แล้วเสียชีวิตอีก 40 ปีต่อมาใกล้ ๆ บ้านของเขาในหมู่บ้านเวสทันซอยแลนด์ มณฑลซัมเมอร์เซต[49][50]สตีเวนสันได้ตรวจสอบกรณีนี้แล้วพบว่า เรื่องทางประวัติศาสตร์จากหนังสือของไรออลทั้งหมดแม่นยำจึงเขียนไว้ว่า "ผมคิดว่า เป็นไปได้มากว่าเขามีความจำจากอดีตชาติของจริง แล้วจริง ๆ เขาคือ จอห์น เฟล็ตเชอร์ ผู้กลับชาติมาเกิดอีกตามที่เขาเชื่อ"[50]แต่ในปี 1976 แพทย์นักเขียนจอห์น เทย์เลอร์พบว่า โบสถ์เวสทันซอยแลนด์ระหว่างปี 1645-1685 ไม่มีบันทึกการเกิด การแต่งงาน หรือการเสียชีวิตของบุคคลชื่อว่าเฟล็ตเชอร์เพราะไม่สามารถหาร่องรอยของชื่อนี้ได้ จึงสรุปว่า ไม่มีใครชื่อจอห์น เฟล็ตเชอร์จริง ๆ และความจำดังว่าเป็นเรื่องที่ไรออลได้เพ้อฝันขึ้นเป็นปี ๆ[50]สตีเวนสันภายหลังเปลี่ยนความเห็นของเขาในกรณีนี้ในหนังสือกรณีศึกษายุโรปประเภทกลับชาติมาเกิด เขาเขียนว่า "ผมไม่เชื่อแล้วว่า ความจำของเอ็ดวาร์ด ไรออลตามที่ปรากฏ 'ทั้งหมด' มาจากอดีตชาติ เพราะรายละเอียดบางอย่างผิดอย่างชัดเจน" แต่เขาก็ยังกล่าวว่า ไรออลได้ข้อมูลเกี่ยวกับมณฑลซัมเมอร์เซตช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ด้วยวิธีเหนือธรรมชาติ[51]

การสนับสนุน

ในหนังสือ Death and Personal Survival เมื่อสนับสนุนสตีเวนสัน อัลมีเดอร์ระบุการฟันธงล่วงหน้าของเอ็ดวาร์ดส คือการมีจิตโดยไร้สมองช่วงระหว่างชีวิตเป็นไปไม่ได้ และความเป็น "วัตถุนิยมหัวรั้น" บังคับให้เขามองงานของสตีเวนสันว่า ต้องเป็นตัวอย่างการฉ้อฉลหรือความคิดหลงผิดตามอัลมีเดอร์ ในกรณีที่เอ็ดวาร์ดสได้กล่าวถึง จริง ๆ ได้มีการตรวจสอบว่าเป็นการฉ้อฉลหรือไม่[44]ในบทความที่ติพิมพ์ในเว็บไซต์ Scientific American ปี 2013 ที่ทบทวนงานของสตีเวนสันในเชิงบวก ศาสตราจารย์การสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ผู้หนึ่งเขียนว่า

ในเบื้องปลายชีวิตอันเป็นตำนานของเธอ นักฟิสิกส์ Doris Kuhlmann-Wilsdorf เจ้าของทฤษฎีใหม่เรื่องฟิสิกส์พื้นผิวซึ่งทำให้เธอได้รางวัลอันทรงเกียรติคือ Heyn Medal จากสมาคมเยอรมันเพื่อวัสดุศาสตร์ ได้คาดว่า งานของสตีเวนสันได้แสดง "ความเป็นไปได้ทางสถิติว่าการกลับชาติมาเกิดมีจริง สูงอย่างท่วมท้น...กระทั่งว่า รวม ๆ กันแล้ว หลักฐานไม่ได้แย่ไปกว่าสาขาวิทยาศาสตร์เกือบทุกสาขาถ้าไม่ทั้งหมด"[52]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: เอียน สตีเวนสัน http://www.highbeam.com/doc/1G1-72763292.html http://journals.lww.com/jonmd/Citation/1977/09000/... http://journals.lww.com/jonmd/Citation/1977/09000/... http://jas.sagepub.com/content/21/3-4/204 http://www.skepdic.com/stevenson.html http://skepticreport.com/sr/?p=482 http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,1... http://www3.interscience.wiley.com/journal/1192426... http://departments.bloomu.edu/philosophy/pages/con... http://www-personal.umich.edu/~thomason/papers/xen...